บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ของ
นายยุทธนา วังเพ็ชร์
ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (วิมุกตายนวิทยา)
เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก
จังหวัดนราธิวาส
การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ นักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น แนวทางในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน คุณธรรม จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. มีวินัยมีรับผิดชอบ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ 2. มีความซื่อสัตย์สุจริต 3. มีความกตัญญูกตเวที 4. มีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละเพื่อส่วนรวม 5. ประหยัดรู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตัวและส่วนรวมอย่างคุ้มค่า 6. ความภูมิใจในความเป็นไทยเห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทยและดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย กิจกรรม จำนวน 8 กิจกรรม คือ (1) กิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ (2) กิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน (3) กิจกรรมต่อต้านสารเสพติดในโรงเรียน (4) กิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (5) กิจกรรมสมุนไพรใกล้ตัว พืชสวนครัวรั้วกินได้ (6) กิจกรรมประหยัดอดออม (7) กิจกรรมร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน และ (8) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายสุขภาพจิต มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับเรื่อง ต่อไปนี้ (4.1) ศึกษาและเปรียบเทียบคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาชองเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน ก่อนและหลังการดำเนินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน (4.2) ความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินการโครงการการประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 6 ฉบับ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการ จำนวน 6 คน คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 15 คน ครู จำนวน 30 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 60 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 175 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนก่อนและหลังดำเนินโครงการ โดยใช้ t – test แบบ Dependent Sample test